วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

อั้นไม่อยู่ ก๊าซขึ้นราคา 2 เด้ง

วันนี้ (30 ม.ค.) ราคาก๊าซหุงต้ม ตามถังขนาดครัวเรือน 15 กิโลกรัม ปรับขึ้น 3 บาทต่อถัง ขณะที่นายกสมาคมก๊าซปิโตรเลียมระบุ ร้านขายปลีกก๊าซหุงต้ม จะปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มอีกระลอกถังละ 3บาท ภายหลังโรงบรรจุก๊าซ (แอลพีจี) แจ้งว่าจะปรับขึ้นราคาขายอีกตามค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ส่วนราคาน้ำมันขยับขึ้นทุกประเภท

อ่านข่าวแล้วรู้สึกสงสารคนทำงานหาเช้ากินค่ำ ข้าวของก็แพง รายได้ที่หามาก็ไม่พอจะจ่าย ก็อย่างว่าแหล่ะนะ เศรษฐกิจไทยมันผันผวนไปตามเศษรฐกิจโลก ปัญหา subprime ของอเมริกา จนเกิด วิกฤต Hambueger crisis กระทบกันไปทั่วโลก ฉะนั้นยุคนี้ เราต้องดำเนินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เน้นการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง และก็ได้แต่หวังว่า รัฐบาลใหม่ชุดนี้ จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ให้สมกับวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ว่า "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน"

ที่มาของข่าว http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic&content=77036

อบรม Km ตอนที่4

หลังจากที่เราได้รู้แล้วว่าเราจะทำ KM ไปทำไม (จากที่ สคส บอก) หรือบางท่านก็ทำ KM อย่างที่ต้องการแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันว่า KM ที่เราอยากทำนั้น เราจะทำอย่างไร จากที่ สคส ท่านเสนอ (อีกแล้ว..อิอิ)

ตามแนวคิดของท่านอาจารย์ ดร. ประพนธ์ ผาสุกยืด แห่งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ เพื่อสังคม (สคส.) ที่ได้นำเสนอ TUNA Model หรือ KM Model “ปลาทู” ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง Knowledge Vision (KV) มีส่วนหัว ส่วนตา มองว่ากำลังจะไปทางไหน ต้องตอบได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร” ความสนใจร่วมหรือปัญหาร่วมของชุมชนในองค์กร ส่วนที่สอง Knowledge Sharing (KS) ส่วนกลางลำตัว ส่วนที่เป็น “หัวใจ” ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน (Share & Learn) ถ้าไม่สามารถทำให้รู้สึกรักและปรารถนาดีต่อกันด้วยความจริงใจได้ ใจใครก็บังคับใครไม่ได้ และส่วนที่สามKnowledge Assets (KA) เป็นส่วนขุมความรู้ที่ทำให้มีการนำความรู้ไปใช้งานและมีการต่อยอดยกระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ ช่วยให้การแพร่กระจายความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ...

สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย..
- เปิดตา มองผู้เล่าเรื่องด้วยแววตาแสดงความสนใจ แววตาชื่นชม สายตาผู้ฟังสามารถสร้างบรรยากาศที่ดีได้
- เปิดหู ตั้งใจรับฟัง ฟังด้วยความชื่นชมยินดีเมื่อคนฟัง ฟังจากใจ คนพูดจะถูกกระตุ้นทำให้พูดได้ลึกขึ้น ปล่อยความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ออกมาได้มากขึ้น
- เปิดใจ ให้อยากแลกเปลี่ยน อยากรับฟังคนอื่น เปิดใจกว้างฟังคนที่คิดต่าง โดยไม่ยึดติดอยู่ในกรอบ เปิดใจรับฟังแบบไม่นึกค้านอยู่ในใจ แม้ไม่ตรงกับใจที่คิด อย่าเพิ่งค้าน เปิดใจฟังเรื่องเล่าให้จบก่อน

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

อบรม KM ตอนที่3

ทำไมต้องทำ KM
นั่นเป็นคำถามที่ผู้เข้าอบรมต้องตอบ ถ้าในความคิดส่วนตัว ก็คงเห็นว่า การทำ KM จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เฉพาะแค่งานเท่านั้น เราสามารถนำ KM มาใช้กับการดำเนินชีวิตในประจำวันของเราก็ได้ แต่ตอนที่ฟังท่านวิทยากรเฉลย ก็ถึงบางอ้อ สคส ยกเอากฎหมายมาวางเลยแฮะ .... ถึงว่าคนเข้ามาอบรมกันมากเพราะมันอยู่ในข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัตินั่นเอง แต่ผู้เข้าอบรมจะเอา KM ไปใช้แบบไหนนั่นแหล่ะ เป็นสิ่งที่น่าศึกษาต่อเป็นที่สุด

นี่แหล่ะ เฉลยจาก สคส เพรามาะจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กล่าวไว้ว่า

“มาตราที่ 11 ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูล ข่าวสารและสามารถ ประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้างราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน...”
ดังนั้น เมื่อเป็นข้อกำหนดของกฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของ KPI เราจึงต้องทำ KM

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ คืออะไร
แต่เดิม ตัวเองไม่มีความรู้อะไรเลย เกี่ยวกับการจัดการความรู้ แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าอบรมกับ สคส แล้ว ก็ได้แนวคิดกลับมามากมาย พร้อมๆกับตอนนี้ได้เรียนวิชาการจัดการความรู้แล้ว ก็เลยยิ่งดีใหญ่ มันทำให้ความคิดเราก้าวหน้า ซึ่ง สคส (ตอนที่ไปอบรม)ให้นิยามของ KM ไว้ ดังนี้

KM คืออะไร
คือ เครื่องมือ ผ่อนแรงในการเรียนรู้และพัฒนา
คือ เครื่องมือ สร้างพลังทวีคูณ (Synergy) จากการรวมหมู่พลังที่แตกต่างหลากหลาย
คือ เครื่องมือ สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน
คือ เครื่องมือ ใช้ความรู้ของทั้งในและนอกหน่วยงาน
คือ เครื่องมือ ดึงศักยภาพของคน และ ทีมออกมาใช้ คือ เครื่องมือ ที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม

สคส มอง KM เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้งานบรรลุวัตถุประสงค์
แต่ KM ในมุมมองของนักวิชาการต่างประเทศก็ต่างกันออกไป ไว้คราวหน้าจะมา update เรื่องของ KM ในต่างประเทศกันบ้าง

อบรม KM ตอนที่2

ต่อจากเกริ่นนำคราวแรก เราจะมาดูกันต่อว่า สคส แนะนำอะไรเราอีก ซึ่ง สคส กล่าวว่า
KM เป็นทักษะที่ต้องฝึก ถ้าไม่ฝึกก็ไม่มีการเรียนรู้ และต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และตัวเรา ต้องรู้จักปรับเครื่องมือให้เข้ากับบริบท เข้ากับวัฒนธรรมของเรา
KM มองได้ 3 มุมมอง
1. มองไปที่ BOK (Body of Knowledge) มองความรู้ที่อยู่ในกระดาษ, หนังสือหรือตำรา สนใจการจัดความรู้ให้เป็นหมวดหมู่ เข้าถึงได้ง่าย เช่น ห้องสมุด (Knowledge Center)
2. มองไปที่ POK (Process of Knowing) มองความรู้ที่อยู่ในคน (Tacit knowing)
3. มองความรู้ที่อยู่ในเครือข่าย (Learning Community)
KM ที่สมบูรณ์ควรมีทั้ง 3 ส่วน เมื่อองค์กรมีทั้ง 3 ส่วน ก็จะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO)
Body of Knowledge ต้องครอบคลุมความรู้ทั้ง 2 ประเภท ทั้งExplicit Knowledge และ Tacit Knowledge

POK: Process of knowing หรือ tacit knowing
ในชีวิตจริง การเข้าถึง Tacit knowing ทำได้ไม่ง่าย ต้องออกแบบกระบวนการที่แนบเนียนให้เหมาะกับกลุ่มคน หรือเหมาะกับวงวิชาชีพที่มารวมกัน ความสำคัญอยู่ที่ว่า ต้องเปิดตา เปิดหู เปิดใจ ยอบรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ อย่าเพิ่งคิดค้าน และถามอย่างกัลยาณมิตร เพื่อจะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

COPs: Community of Practices
คนหลายคน รวมตัวกัน เกิดเป็นชุมชนแห่งการปฏิบัติ ซึ่ง COPs จะเกิดได้ต้องอาศัย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1. การมีความสัมพันธ์ที่ดี สนิทสนม คุ้นเคย ไว้เนื้อเชื่อใจ รู้สึกปลอดภัย
2. มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มีปัญหาร่วมกัน แสวงหาบางอย่างร่วมกัน
3. มีเรื่องที่ต้องแบ่งปันกัน เช่น ประสบการณ์ ประเด็นความสำเร็จ และเทคนิคการแก้ปัญหา